จิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก

ดังนั้นเราจึงใช้ตรรกะเหตุผล หรือการนึกคิดธรรมดาเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆที่ถูกเก็บไว้ในจิตใต้สำนึกได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นนิสัยสันดานพฤติกรรม ความเคยชิน หรือประสบการณ์ใดทั้งที่ดีและไม่ดี และความเชื่อแต่ละบุคคล

💓ฉะนั้น การจะเปลี่ยนความเชื่อหรืออะไรที่แก้ยาก เปลี่ยนอารมณ์อะไรที่เกิดแบบไม่มีเหตุผล หรือรักษาอาการป่วยเรื้อรังที่ไม่มีสาเหตุ จึงต้องเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงในระดับ>>จิตใต้สำนึก

🤯และนี่จึงเป็นที่มาของ "การสะกดจิต(hypnosis)" ซึ่งเป็นเครื่องมือผ่อนคลายร่างกายและสมองเรา ทำให้เข้าสู่ภาวะการทำงานของจิตใต้สำนึก และลดบทบาทของจิตสำนึกลง นั่นเอง ค่ะ

ก่อนที่จะบำบัดจิตใต้สำนึกกัน เราก็จะต้องมาทำความรู้จักกับ "จิตใต้สำนึก" ก่อนนะคะ ว่ามันคืออะไร...

👥จิตสำนึก และจิตใต้สำนึก คืออะไร

🌗จิตใจของคนเราทั้งสองส่วนนี้ทำงานอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร

จิตสำนึก(conscious mind) คือจิตส่วนที่รับรู้และทำงานเป็นหลักในสภาวะที่เรา "ตื่นตัว" ทำงานในส่วนการใช้เหตุและผล ตรรกะ(logical) คิดวิเคราะห์(Analytical) แก้ไขปัญหา รู้ผิดชอบชั่วดี และทำหน้าที่เชื่อมโยงความเป็นตัวตนกับโลกภายนอก

จิตสำนึกจะจำข้อมูลทุกอย่างในชีวิตประจำวันได้เพียงส่วนน้อยและในระยะสั้นๆเท่านั้น ข้อมูลส่วนใหญ่กว่า 90% จะถูกเก็บซ่อนลงไปในระดับจิตใต้สำนึก

🎨จิตใต้สำนึก(subconscious mind) คือ จิตส่วนที่รับรู้ และทำงานเป็นหลักในภาวะที่เรา "ผ่อนคลาย" ทำงานด้านอารมณ์ความรู้สึก สัญชาตญาณ สหัชญาณ(intuition) ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ความทรงจำระยะยาว(long-term memory) ระบบพาราซิมพาเทติกที่อวัยวะในร่างกายทำงานแบบอัตโนมัติ ฯลฯ

อาจจะแบ่งย่อยออกเป็นจิตก่อนสำนึก (preconscious mind) และจิตไร้สำนึก(unconscious mind) จิตก่อนสำนึกจะเข้าถึงได้ง่ายกว่า แต่ในระดับจิตไร้สำนึกนั้นจะเป็นที่เก็บความทรงจำในอดีตที่ไกลมากๆ เช่น ความทรงจำขณะอยู่ในครรภ์ ความทรงจำในอดีตชาติ(past life) เป็นต้น

🎯ความทรงจำที่บันทึกในจิตใต้สำนึกเป็นความทรงจำที่ไม่ต้องมีเหตุผลรองรับ เพราะความนึกคิดเหตุผลนั้นเป็นการทำงานของจิตสำนึก เช่น ความกลัวแบบไม่มีเหตุผล อาการตื่นตระหนกทั้งที่ไม่มีอะไรอันตราย เป็นต้น